Direct-To-Card & Retransfer Printer
11 Apr, 2019 / By
eoscard
ตามที่ได้อธิบายไปในบทความอื่นๆ เทคโนโลยีในการพิมพ์มี 2 แบบ แบ่งตามชนิดของหมึกบน Ribbon ซึ่งก็คือ Thermal Transfer และ Dye Sublimation แต่ถ้าเราพูดถึงเทคนิคในการพิมพ์ภาพบนบัตรพลาสติก ของเครื่องพิมพ์บัตร ว่ามีอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไรนั้น
เครื่องพิมพ์บัตรจะมีเทคนิคอยู่ 2 แบบ ในการที่จะพิมพ์ภาพลงบนบัตรพลาสติก คือ
1. Direct-To-Card
2. Retransfer
Direct-To-Card (DTC)
ชื่อบอกตรงตามตัวอยู่แล้วว่าเป็นเทคนิคที่ทำการพิมพ์โดยตรงไปที่บัตรพลาสติกเลย เป็นเทคนิคที่ใช้เป็นปกติโดยทั่วไป เหมือนเครื่องพิมพ์ต่างๆที่จะทำการพิมพ์ลงไปบน media ตรงๆ (บัตรพลาสติก สำหรับ เครื่องพิมพ์บัตร หรือ กระดาษ สำหรับ เครื่องพิมพ์กระดาษ)
DTC จะให้การพิมพ์สีที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ รูปคน หรือ logo บริษัท กระบวนการพิมพ์จะเป็นการควบคุมความร้อนที่หัวพิมพ์ซึ่งปริมาณความร้อนนี้จะส่งผลต่อปริมาณและความเข้มของสีที่จะพิมพ์ บัตรพลาสติกที่จะถูกพิมพ์จะถูกลำเลียงผ่าน roller ของเครื่องพิมพ์ไปยังตำแหน่งของหัวพิมพ์ ซึ่งจะมี Ribbon คั่นอยู่ระหว่างหัวพิมพ์และบัตร หัวพิมพ์ที่มีความร้อนจะพิมพ์สีจาก ribbon ลงบนบัตร 4 ครั้ง เพื่อสร้างรูปภาพสีขึ้นมา 4 ครั้งที่กล่าวไว้นั้นก็คือ Ribbon แต่ละ panel หรือ YMCK (Yellow เหลือง, Magenta แดงม่วง, Cyan น้ำเงินเขียว และ BlacK ดำ) เทคนิคการพิมพ์บัตรแบบ DTC จะให้รูปภาพสีที่มีความคม ให้สีดำที่เหมือนจริง และให้เฉดสีที่สวยงาม
แต่ DTC จะสามารถพิมพ์ไดในลักษณะที่เรียกว่า "Edge-to-edge" เท่านั้น คือจะไม่สามารถที่จะพิมพ์ได้จนสุดหรือเลยขอบบัตรทั้ง 4 ด้าน เป็นผลทำให้อาจจะสังเกตเห็นเส้นบางๆขาว (สีของเนื้อบัตรที่หัวพิมพ์ไม่สามารถพิมพ์ได้) อยู่ที่ขอบบัตร ถ้าเราพยายามที่จะพิมพ์เต็มบัตร
สิ่งนี้อาจจะเป็นข้อจำกัดของ DTC เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับหัวพิมพ์ ถ้าพยายามให้หัวพิมพ์ต้องพิมพ์ลงบนขอบบัตรที่อาจจะมีความคมเหลืออยู่บ้างจากการผลิตบัตร
Retransfer
เป็นคำที่เรียกเป็นปกติ ย่อมาจากคำว่า Reverse Transfer เป็นการพิมพ์บัตรจาก 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกจะทำการพิมพ์ตามปกติ แต่จะเป็นการพิมพ์บนฟิล์มก่อน (Retransfer film) แล้วขั้นตอนที่สองจะนำเอาฟิล์มนี้รีดติดลงที่บัตรอีกที หัวพิมพ์จะถูกใช้แค่ขั้นตอนแรกในการพิมพ์รูปภาพลงบน Retransfer film ซึ่งเป็น film ใสๆ ส่วนขั้นตอนที่ 2 นั้น หัวพิมพ์ไม่ได้ใช้งาน แต่การรีด film ติดลงบนหน้าบัตรนั้น จะใช้โดยลูกกลิ้งแรงดันกับความร้อนเท่านั้น
ดังนั้นจะเห็นว่าหัวพิมพ์ไม่ได้มีการกระทบลงบนบัตรพลาสติกที่แข็งๆโดยตรงเลย การพิมพ์แบบ Retransfer นี้สามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่า Over-the-edge ได้ คือการพิมพ์เลยขอบของบัตรพลาสติก เพราะว่ารูปภาพที่พิมพ์ลง film นั้นสามารถมีขนาดใหญ่ได้กว่า ขนาดของบัตร ทำให้ภาพที่ได้บนบัตรเห็นเต็มจนสุดขอบ (100% coverage) และไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพการพิมพ์จากผิวหน้าบัตรไม่เรียบสม่ำเสมอ เหมือน DTC เพราะหัวพิมพ์ไม่ได้กดลงโดยตรงไปที่ผิวบัตรเลย
ข้อดีอีกอย่างคือวัสดุบัตรพลาสติกสำหรับ การพิมพ์แบบ Retransfer นั้น ไม่ได้จำกัดแค่ PVC เท่านั้น สามารถพิมพ์ลงได้บน ABS หรือ PET ได้ด้วย แต่ข้อที่ด้อยคือค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ด้วย Retransfer จะสูงกว่า DTC ทั้งราคาของเครื่องพิมพ์ที่มักจะมีราคาสูงกว่า และต้องมี Consumable เพิ่มมาอีก 1 อย่าง คือ ตัว Retransfer film แต่ก็ให้คุณภาพภาพพิมพ์และความทนทานที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน