How an ID Card is printed
11 Apr, 2019 / By
eoscard
เครื่องพิมพ์บัตรที่เรียกว่า Desktop Card Printer นั้น จะเหมาะมากกับการพิมพ์ที่เราเรียกกันว่า Per-So (เปอร์โซ) ซึ่งเป็นการเรียกสั้นๆมาจากคำว่า Personalized ก็คือ การพิมพ์บัตรที่ทำให้บัตรแต่ละใบนั้นมีข้อมูลเฉพาะ เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนกันบนบัตรแต่ละใบ อย่างเช่น บัตรประจำตัว บัตรพนักงาน ก็จะต้องมีข้อมูล เช่น หมายเลขบัตร หมายเลขพนักงาน ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน หรือ รูปถ่ายบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะ ของบุคคลนั้นๆ และแตกต่างจากบัตรอื่นๆ
แล้วเครื่องพิมพ์บัตรนี้ สามารถที่จะพิมพ์บัตรประจำตัว (ID Card) ได้อย่างไร รูปภาพหรือตัวอักษรที่พิมพ์ลงบนบัตรนั้นมาจากหมึกที่อยู่บน Ribbon โดยใน Ribbon จะมี ชุดของแม่สี ซึ่งประกอบไปด้วย Y (Yellow - เหลือง), M (Magenta - แดงม่วง), C (Cyan - น้ำเงินเขียว) และ K (ฺฺBlack - ดำ) ซ้ำกันเป็นชุดๆ แต่ละชุดสำหรับการพิมพ์ต่อบัตร 1 ใบ และอาจจะมี Panel เพิ่ม คือ O (Overlay - เคลือบ) สำหรับเคลือบใสทำให้การพิมพ์นั้นคนทนขึ้น
บัตรประจำตัว 1 ใบจะถูกพิมพ์หลายครั้งโดยแม่สีแต่ละสี เพื่อให้เกิดการผสมสีและเกิดระดับสีที่หลากหลาย ตั้งแต่ ขาว (เนื้อบัตร บริเวณที่ไม่ถูกการพิมพ์เลย) ไปจนถึง ดำ (ปริมาณความเข้มที่สุดของ Y, M และ C มาผสมกัน)
สีที่เกิดจากการผสมกันของ YMC แบบคร่าวๆ สามารถดูได้จากรูปข้างล่าง
การเกิดภาพสีบนบัตรนั้น จะเกิดจากการพิมพ์ ด้วย Panel Y (Yellow) ลงไปก่อน แล้วตามด้วย M (Magenta) และ ตามด้วย C (Cyan)
ภาพบนบัตร หลังจากที่ถูกพิมพ์ด้วย Panel Y (Yellow - เหลือง)
จากภาพข้างบน บัตรจะถูกพิมพ์ต่อด้วย Panel M (Magenta - แดงม่วง) จะได้ภาพด้านล่าง
หลังจากนั้น จะถูกพิมพ์ต่อด้วย Panel C (Cyan - น้ำเงินเขียว) จะได้ภาพสีที่สมบูรณ์ ตามรูปด้านล่าง
หลังจากที่ YMC ถูกพิมพ์ลงบนบัตรเรียบร้อยแล้วจะเกิดภาพสีสวยงานเหมือนภาพถ่ายขึ้นบนบัตร แต่เรายังสามารถที่จะพิมพ์ Panel K (Black-ดำ) ลงไปเพิ่มอีก Panel K นั้น จะเป็นสีดำที่เกิดจากหมึกแบบ Resin ซึ่งให้สีดำที่เข้มคมชัด เหมาะกับสีดำที่ใช้เป็นตัวอักษรบนบัตร หรือ arcode ต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากสีดำที่เกิดจากการผสมสีของ YMC ซึ่งจะให้สีออกโทนเทาเข้มๆมากกว่า ซึ่งเหมาะกับสีดำที่อยู่ในภาพถ่าย เช่น สีดำของสีผมบุคคล ซึ่งจะให้สีดำที่ดูเป็นธรรมชาติ
สีดำที่เกิดจากการผสมสี YMC นั้น เราจะเรียกว่า Composite Black และ สีดำที่เกิดจาก Panel K นั้น บางครั้งเราจะเรียกว่า True Black
ภาพข้างล่างแสดง ความแตกต่างระหว่าง Composite Black และ True Black
สุดท้าย หลังจากที่พิมพ์ YMC และ K เรียบร้อยแล้ว จะมี Panel O (Overlay) ไว้สำหรับ พิมพ์เคลือบใส ให้สีที่พิมพ์มีความทนทานมากกว่าเดิม
งานบัตรประจำตัวบางประเภทต้องการให้บัตรอยู่ได้นานเป็นพิเศษหรือต้องการ Security สูง เพื่อให้การปลอมแปลงบัตรเป็นไปได้ยาก ทำให้เครื่องพิมพ์บัตรบางรุ่นจะมีส่วนที่เรียกว่า Laminator Station เพิ่มเข้ามา เพื่อทำการเคลือบรีดแผ่น laminate ใส ลงบนบัตรอีกที หรือ อาจจะเป็น laminate ที่มี Hologram Logo เพื่อป้องกันการปลอมแปลง (อย่างเช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบขับขี่)
ระดับชั้นต่างๆที่ประกอบขึ้นมาเป็น บัตรประจำตัว 1 ใบนั้น สามารถแสดงได้จากรูปด้านล่าง